วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

งานวิจัยเรื่อง บ้านจัดสรรในจังหวัดเชียงใหม่ : ปัญหาการใช้ที่ดินและการจัดสิ่งบริการ

งานวิจัยเรื่อง บ้านจัดสรรในจังหวัดเชียงใหม่ : ปัญหาการใช้ที่ดินและการจัดสิ่งบริการ
(ระเบียบวิธีวิจัย หรือวิธีการศึกษา)
ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า ความต้องการในด้านที่อยู่อาศัยในเขตเมืองได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเขตเมืองเป็นที่รวมของความเจริญในด้านต่างๆ เข้าไว้เป็นศูนย์กลางเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่อื่นๆ เช่น นครราชสีมา ภูเก็ต หรือ เชียงใหม่ จากความต้องการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นนี้เอง ทำให้เกิดกิจการเกี่ยวกับการจัดหาที่อยู่อาศัย ในรูปของธุรกิจบ้านจัดสรรขึ้น และมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากกิจการหรือธุรกิจประเภทนี้ เกือบทุกโครงการดำเนินงานโดยเอกชน จึงต้องมุ่งหวังผลกำไรสูงสุด ดังนั้น จึงพยายามลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำที่สุด เราจึงพบว่า โครงการบ้านจัดสรรส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ไม่ได้มีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือสาธารณูปโภคที่ได้มารตฐาน หรือมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัย นอกจากนี้ยังพบว่า กิจการหรือธุรกิจประเภทนี้ มักจะมีการดำเนินงานบนพื้นที่ซึ่งใช้เป็นที่ดินเพื่อการเกษตร เนื่องจากที่ดินประเภทนี้มักจะมีราคาซื้อขายต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับที่ดินที่ใช้ทำกิจกรรมประเภทอื่นๆ ดังนั้น จึงเป็นผลให้เกิดปัญหาพื้นที่ทำการเกษตรลดลง ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหามลภาวะแก่พื้นที่เกษตรที่ยังคงเหลืออยู่บริเวณรอบโครงการบ้านจัดสรรอีกด้วย ภาวะการณ์เช่นนี้เป็นผลเสียหายทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของประเทศ
สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นเมืองสำคัญรองลงมาจากกรุงเทพมหานคร และเป็นศูนย์กลางการบริหารที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือตอนบน จึงมีการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น เมื่อมีกิจการบ้านจักสรรเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517 กิจการประเภทนี้จึงได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งรีบด่วนที่จะต้องดำเนินงานศึกษาถึงทิศทางและแนวโน้มการขยายตัวของกิจการประเภทนี้ว่า ได้ก่อให้เกิดผลเสียต่อการใช้ที่ดินอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ในแง่ของผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านจัดสรรต่างๆ เหล่านี้ เขาเหล่านี้ต้องประสบปัญหาในการอยู่อาศัยอย่างไรหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อที่สามารถหาแนวทางการแก้ไขและป้องกันที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อศึกษาถึงลักษณะการกระจายตัวของกิจการบ้านจัดสรร ว่าได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ที่ดินอย่างไรบ้าง
  2. เพื่อศึกษาถึงลักษณะการจัดสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อมในโครงการบ้านจัดสรรว่ามีความเหมาะสมกับการอยู่อาศัยหรือไม่เพียงไร
  3. เพื่อศึกษาถึงปัญหาในการอาศัยของผู้พักอาศัยในโครงการบ้านจัดสรรต่างๆ ว่าเป็นปัญหาในเรื่องอะไรบ้าง
  4. เพื่อหาข้อสรุปถึงแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวของธุรกิจบ้านจัดสรร และแนวทางในการจัดการหรือควบคุมการดำเนินธุรกิจบ้านจัดสรรให้มีมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัย
วิธีการวิจัย (Methodology)
1.  การสำรวจข้อมูลที่เป็นเอกสาร ในขั้นตอนแรกของการศึกษาจะเป็นการศึกษาข้อมูลจากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน อาทิ พระราชบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ประกาศคณะปฎิวัติฉบับที่ 286 เรื่องควบคุมการจัดสรรที่ดินและข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน เป็นต้น นอกจากนี้ ได้ทำการศึกษาถึงแนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวางผังเมือง การพัฒนาพื้นที่ การจัดสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัย และมาตรฐานในบริเวณพักอาศัย ซึ่งข้อมูลที่ได้จากเอกสารเหล่านี้จะนำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางการวางแผนการดำเนินงานด้านการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลในขึ้นตอนต่อไป
2.  การสำรวจข้อมูลภาคสนาม เนื่องจากยังไม่ได้มีการสำรวจและจัดทำแผนที่การกระจายตัวของหมู่บ้านจัดสรรในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้ดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูลภาคสนามใน 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1  การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับโครงการบ้านจัดสรรและที่ดินจัดสรร ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้แก่ ที่ตั้ง ราคาการซื้อขาย ประเภทของอาคารจัดสรร รวมถึงบริการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่างๆ ภายในโครงการบ้านจัดสรร ข้อมูลที่ได้ในส่วนนี้จะนำมาแสดงให้เห็นถึง รูปแบบและทิศทางการขยายตัวของธุรกิจบ้านและที่ดินจัดสรรในเขตจังหวัดเชียงใหม่
ส่วนที่ 2  การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการอยู่อาศัยและการใช้บริการด้านสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ ของผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านจัดสรรต่างๆ รวมทั้งความสัมพันธ์ของที่ตั้งโครงการบ้านจัดสรรกับพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ ข้อมูลส่วนนี้จะได้จากการสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านจัดสรรที่ตกเป็นตัวอย่างในการศึกษา
3.  การสุ่มตัวอย่าง ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจภาคสนามในส่วนที่ 1 จะนำมาใช้ในการสุ่มตัวอย่างโครงการบ้านจัดสรรที่จะใช้ใจการศึกษา ทั้งนี้โดยใช้วิธี Stratified random samples โดยได้แบ่งโครงการบ้านจัดสรรที่สำรวจไดทั้งหมดออกเป็น 3 กลุ่มตามขนาดพื้นที่ คือ กลุ่มที่มีขนาดพื้นที่โครงการขนาดเล็ก (1-10 ไร่ขึ้นไป) กลุ่มที่มีขนาดพื้นที่โครงการขนาดกลาง (11-50 ไร่) และกลุ่มที่มีโครงการขนาดใหญ่ (50 ไร่ขึ้นไป) จากนั้นจึงทำการสุ่มตัวอย่างโครงการจากแต่ละกลุ่ม โดยใช้ประมาณร้อยละ 30 ของโครงการแต่ละกลุ่ม ซึ่งปรากฎว่ามีโครงการบ้านจัดสรรที่ตกเป็นตัวอย่าง 21 โครงการด้วยกัน เป็นโครงการขนาดเล็ก 11 โครงการ โครงการขนาดกลาง 7 โครงการ และโครงการขนาดใหญ่ 3 โครงการ
สำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้เป็นประชากรตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการสุ่มตัวอย่างจากจำนวนผู้อยู่อาศัยทั้งหมดที่อยู่ในโครงการบ้านจัดสรรที่ตกเป็นตัวอย่างโดยใช้วิธี Systematic sampling ซึ่งปรากฎว่ามีประชากรที่ตกเป็นตัวอย่าง จำนวน 155 คนจากโครงการบ้านจัดสรร 21 แห่ง ที่ตกเป็นตัวอย่าง
4.  การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจภาคสนามโดยเฉพาะในส่วนที่ 2 จะนำมาทำการแปรข้อมูลเป็นรหัสเพื่อประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะแสดงผลของข้อมูลในรูปของตารางแจกแจงความถี่และตารางแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล ตามแนวการวิเคราะห์ ดังนี้
1.  ผลจากการสำรวจที่ตั้งโครงการบ้านจัดสรร จะนำมาจัดแสดงในแผนที่โปร่งแสง แล้วทำการวิเคราะห์โดยวิธีซ้อนภาพ (Overlay) เปรียบเทียบกับแผนที่แสดงสมรรถนะดินในบริเวณโครงการ แผนที่แสดงการใช้ที่ดินกิ่นที่จะมีโครงการบ้านจักสรร แผนที่เขตรับน้ำชลประทานและแผนที่ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ เพื่อวิเคราะห็ว่า การขยายตัวของโครงการบ้านจัดสรร ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ อย่างไรบ้าง
2.  ผลจากการศึกษาสภาพแวดล้อม จัดสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ตลอดจนปัญหาในการอยู่อาศัยของผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านจัดสรรที่เป็นตัวอย่างในการศึกษา จะนำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปว่า โครงการบ้านจัดสรรที่มีขนาดต่างกันสามารถจัดบริการต่างๆ ให้แก้ผู้อยู่อาศัยแตกต่างกันหรือไม่ และแตกต่างกันอย่างไร ลักษณะของปัญหาของผู้อยู่อาศัยในโครงการขนาดต่างกันเป็นอย่างไร
3.  ผลจากการวิเคราะห์ในข้อ 1 และ 2 จะนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากเอกสารเพื่อที่จะหาข้อสรุปถึงปัญหาต่างๆ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แลแสวทางในการจัดการเกี่ยวกับการจัดบริการด้านที่อยู่อาศัยประเภทนี้ในระยะต่อไป

ข้อจำกัดในการวิจัย
                โครงการวิจัยนี้เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานการงบประมาณแผนดิน ประจำปี 2530 ดังนั้น จึงมีระยะเวลาการดำเนินงานค่อนข้างจำกัด การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนและที่ตั้งของโครงการบ้านจัดสรรและที่ดินจัดสรร จังไม่อาจทำได้ครบถ้วน เนื่องจากมีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาและบางโครงการก็ไม่ได้มีสถานที่ติดต่อในพื้นที่ที่ทำการจัดสรรนอกจากนี้แล้วในแง่ของผู้ดำเนินธุรกิจบ้านจัดสรร ก็มักจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดการดำเนินงานเท่าที่ควร ฉบับที่ 286 และสำหรับผู้อยู่อาศัย การขอเข้าทำการสัมภาษณ์ก็มักจะพบกับปัญหาการที่เจ้าของบ้านไม่อยู่ในเวลาที่คณะนักวิจัยเข้าไปทำการเก็บข้อมูล ส่วนใหญ่จะพบแต่คนรับใช้ หรือผู้อยู่เฝ้าบ้าน ซึ่งไม่สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อบ้าน และข้อตกลงระหว่างโครงการบ้านจัดสรรกับผู้ซื้อได้ เป็นผลให้การเก็บข้อมูลต้องล่าช้า และได้ข้อมูลไม่ค่อยสมบูรณ์

(บทสรุป)
ปัญหาการขยายตัวของโครงการบ้านจัดสรรในจังหวัดเชียงใหม่
                การขยายตัวของโครงการบ้านจัดสรรในจังหวัดเชียงใหม่ ในระยะแรกเกิดขึ้น เพื่อสนองความต้องการมีที่อยู่อาศัยของประชากรภายในเขตอำเภอเมือง และอำเภอใกล้เคียง แต่ในระยะหลัง เกิดเพราะความต้องการจากภายนอกด้วย (ทั้งนี้ โดยมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ และสังคมของพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เองเป็นปัจจัยถึงดูดความต้องการที่อยู่อาศัยของประชากรจากภายนอก) ดังนั้น แม้ว่าในภาวะการณ์ปัจจุบัน การขาดแคลนที่อยู่อาศัยภายในพื้นที่จะหมดไปแล้ว แต่การขยายตัวของกิจการนี้ก็ยังคงมีอยู่ และเริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของที่อยู่อาศัยไปเป็นแบบอาคารชุดในเขตเมือง
ผลที่เกิดจากการขยายตัวของโครงการบ้านจัดสรร นอกจากจะเป็นผลดี ในแง่ของการสนองตอบความต้องการมีที่อยู่อาศัยของประชากรแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง ก็ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่เหมาะสมอีกด้วย นั่นคือ การใช้พื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกไปเป็นที่อยู่อาศัย และยังทำให้เกิดความสูญเหล่าในการลงทุนสร้างระบบชลประทานให้แก่เกษตกรของรัฐด้วย อย่างไรก็ตาม จำนวนพื้นที่ที่สูญเสียไปนี้แม้จะไม่มากนักเมื่อเทียบกับพื้นที่ทำเกษตรและพื้นที่รับน้ำชลประทานที่ยังเหลืออยู่ แต่การขยายตัวที่ยังคงมีอยู่และยังไม่อาจควบคุมได้นี้ อาจจะเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้นในอนาคตได้
สำหรับการจัดบริการสาธารณะต่างๆ ภายในโครงการบ้านจัดสรร พบว่า โครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ สามารถจัดสิ่งบริการได้ครบถ้วน และมีมาตรฐานดีกว่า โครงการบ้นจัดสรรขนาดกลางและขนาดเล็ก ทั้งนี้ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมภายในโครงการที่ดีกว่าด้วย สำหรับโครงการขนาดเล็กแม้ว่าการให้บริการต่างๆ จะมีน้อยมาก แต่เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้ตัวเมือง ดังนั้น จึงอาศัยการบริการต่างๆ จากเมืองเป็นหลัก ทำให้ผู้อยู่อาศัยไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องการใช้บริการมากนัก โครงการที่จะมีปัญหาในด้านการให้บริการสาธารณะแก่ผู้อยู่อาศัยมากที่สุด ได้แก่ โครงการบ้านจัดสรรขนาดกลาง โดยเฉพาะที่อยู่นอกเขตเมืองออกไปไกลๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโครงการบ้านจัดสรรในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เพิ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียง 10 กว่าปีเท่านั้น (และส่วนใหญ่เกิดในระยะไม่ถึง 10 ปี) ดังนั้น แม้ว่า สิ่งบริการต่างๆ ที่ทางโครงการจัดไว้ให้จะไม่อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด (ไม่ว่าจะเป็นขนาดแปลงที่ดิน ขนาดบ้านหรือขนาดและสภาพสิ่งบริการต่างๆ) ก็ยังไม่ถึงกับเป็นปัญหาแก่ผู้อาศัยมากนัก เพราะอายุการใช้งานไม่มาก และโครงการบ้านจัดสรรส่วนใหญ่ก้ยังมีสำนักงานเ ปิดดำเนินงานแต่อยู่แต่ในอนาคตถ้าสำนักงานโครงการปิดไปแล้ว และอายุการใช้งานของสิ่งบริการเหล่านี้มากขึ้น อาจจะมีปัญหาได้ซึ่งในระยะเวลานั้น ผู้ที่ต้องรับภาระอาจจะเป็นผู้อยู่อาศัยเอง หรือหน่วยงานในท้องถิ่นก็ได้ (เพราะโครงการบ้านจัดสรรส่วนใหญ่ เมื่อดำเนินการไประยะเวลาหนึ่ง มักจะยกสิ่งบริการสาธารณะ เช่น ถนน ทางระบายน้ำ ให้อยู่ในความดูแลของเทศบาล หรือสุขาภิบาล
ผลกระทบจากการขยายตัวของโครงการบ้านจัดสรรที่มีต่อเมือง เท่าที่พบในขณะนี้ก็คือ การเดินทางเข้าสู่เมืองที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาจราจรคับคั่ง ซึ่งอาจเป็นผลให้ต้องมีการปรับปรุงเส้นทาง หรือระบบการคมนาคมภายในเขตเมืองในอนาคต
การขยายตัวของโครงการบ้านจัดสรรในเขตเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาในแง่ของผลกระทบต่อการใช้ที่ดิน การอยู่อาศัยขอผู้อยู่อาศัยในโครงการ และผลกระทบต่อเมืองจะเห็นว่า ยังไม่ถึงกับเป็นปัญหาที่รุนแรง แต่ขณะเดียวกัน ลักษณะและทิศทางการขยายตัวที่ยังไม่มีการควบคุมเช่นในปัจจุบันนี้ จะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตได้ ดังนั้น จึงควรจะได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมการขยายตัว และสำหรับการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งบริการภายใน โครงการบ้านจัดสรร นั้น ก็ควรจะได้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่เหมาะสม และมีการควบคุมให้เป็ไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้อาศัยโดยตรง

(ข้อเสนอแนะ)
1.  เนื่องจากการขยายตัวของโครงการบ้านจัดสรรส่วนใหญ่ จะขยายลงไปบนพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งในกรณีของพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่นี้ นับว่าเป็นผลเสียอย่างยิ่ง เพราะพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่มีสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เกษตรที่อยู่ในเขตรับน้ำชลประทาน ดังนั้น จึงน่าที่จะได้มีการวางมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่เกษตรกรรมเขตรับน้ำชลประทานให้เหมาะสมต่อไป ขณะเดียวกัน ก็ควรจะได้มีการกำหนดมาตรการส่งเสริมการขยายตัวของโครงการบ้ายจัดสรรพื้นที่ที่ทิ้งว่าง หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ทั้งในเขตเมืองและเขตชานเมือง
2.  ตามประกาศผังเมืองรวม ที่ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นเขตเกษตรกรรมและชนบท ควรจะได้มีการควบคุมการขยายตัวของกิจการบ้านจัดสรรอย่างเข้มงวด โดยให้คณะกรรมการบริหารการผังเมืองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจในการควบคุมดูแล ทั้งนี้ไม่ว่า กิจการบ้านจัดสรรนั้นจะได้ดำเนินการโดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็ตาม
3.  ควรจะได้มีคณะกรรมการระดับท้องถิ่น ขึ้นมาทำหน้าที่ในการควบคุมการดำเนินการของโครงการบ้านจัดสรร ทั้งนี้เพื่อจะสามารถควบคุมให้มีการดำเนินการที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของการจัดบริการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสภาพแวดล้อม คณะกรรมการระดับท้องถิ่นนี้ นอกจากเจ้าหน้าที่ของราชการท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่เทศบาล หรือสุขาภิบาล หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แล้ว ควรจะมีผู้แทนประชาชนในท้องที่ที่โครงการหมู่บ้านจัดสรรคตั้งอยู่เข้าร่วมเป็นกรรมการสมทบด้วย เพื่อที่จะทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโครงการบ้านจัดสรรนั้นๆ
4.  เนื่องจากประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เรื่องการควบคุมการจัดสรรที่ดินยังไม่สามารถควบคุมธุรกิจการจัดสรรที่ดินได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจการจัดสรรที่ดินที่มีการก่อสร้างบ้าน (หรือโครงการบ้านจัดสรร) ดังนั้น ควรจะได้มีการดำเนินการพิจารณาออกข้อกำหนดในเรื่องนี้เสียใหม่ โดยให้สามารถควบคุมได้ทั้งธุรกิจการจัดสรรบ้านและที่ดินจัดสรรนอกจากนี้ควรจะได้มีการดำเนินการออกกฏหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เช่าซื้อบ้านและที่ดินจัดสรรด้วย
5.  ในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของกิจการเกี่ยวกับสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ควรพิจารณาตามขนาดของโครงการบ้านจัดสรร (ขนาดพื้นที่ โครงการ และจำนวนอาคาร) เพราะกิจการประเภทนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อผู้อาศัย (การกำหนดมาตรฐานสิ่งบริการโดยใช้จำนวนแปลงที่ดินเป็นเกณฑ์ทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจบ้านจัดสรรสามารถหลีกเลี่ยงข้อกำหนดได้ง่าย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น