เปิดรายงานการวิจัยชาวบ้าน ผลกระทบจากเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
0
By transbordernews on ข้อมูล, พม่า
เนื้อหาสรุปรายงานต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนกรณีทวาย
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานฉบับนี้นำเสนอการตรวจสอบโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone) ทางตอนใต้ของประเทศเมียนมาร์ ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง โครงการดังกล่าวจะเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รายงานฉบับนี้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อเข้าใจถึงกระบวนการพัฒนาการของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และสิทธิของชาวบ้าน ว่าได้รับการปกป้องและเคารพโดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการมากน้อยเพียงใด
เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเป็นโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีที่เป็นหุ้นส่วนร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมาร์ ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2551 ต่อมาในปี 2553 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเพื่อดำเนินโครงการเป็นระยะเวลา 60 ปี โดยดำเนินงานทั้งหมดผ่าน บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ซึ่งถือหุ้นโดย บริษัท อิตาเลียนไทยฯ (75 เปอร์เซ็นต์) และบริษัท แม็กซ์ เมียนมาร์ จำกัด (25 เปอร์เซ็นต์) บริษัทหุ้นส่วนท้องถิ่น แต่ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2555 บริษัท แม็กซ์ เมียนมาร์ ได้ถอนตัวจากการลงทุนใน บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ อีกทั้งการแสวงหาหุ้นส่วนในการลงทุนก็ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุดังกล่าวโครงการจึงหยุดชะงักในปัจจุบัน
ในเดือนพฤศจิกายน 2556 สิทธิสัมปทานของโครงการถูกโอนให้กับบริษัทรูปแบบใหม่ คือ “นิติบุคคลเฉพาะกิจ” (Special Purpose Vihicle – SPV) ในรูปแบบของบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐบาลเมียนมาร์และรัฐบาลไทย โดยมุ่งเน้นถึงความรับผิดชอบโดยตรงของทั้งสองประเทศต่อโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
เมื่อโครงการเปิดตัวขึ้นในปี 2551 ที่ดินในบางพื้นที่ถูกแผ้วถางและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขั้นต้นได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว
องค์ประกอบหลักของโครงการคือ นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งรวมไปถึง ท่าเรือน้ำลึกและอู่ต่อเรือ โรงกลั่นน้ำมันครบวงจร โรงถลุงเหล็ก โรงงานผลิตปุ๋ยเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงงานแปรรูปกระดาษ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและเบา และโรงไฟฟ้าหนึ่งโรงหรือมากกว่านั้น โครงการก่อสร้างดังกล่าวยังขยายไปเกินกว่าบริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างประเทศเพื่อเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายกับประเทศไทย รวมถึงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันและก๊าซคู่ขนานกับเส้นทางถนนดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีแผนการก่อสร้างเขื่อนเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ท่าเรือขนาดเล็กทางทิศใต้ เหมืองหินทางทิศเหนือ และหมู่บ้านรองรับชาวบ้านที่ต้องถูกอพยพโยกย้ายจากพื้นที่ก่อสร้างโครงการ
หมู่บ้านทั้งหมดที่ทำการวิจัยในครั้งนี้เป็นหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบโดยตรงแล้วทั้งสิ้นจากโครงการ จากข้อมูล ณ ปัจจุบันที่ระบุถึงแผนงานในอนาคตของโครงการ คาดการณ์ว่าชาวบ้านจาก 20–36 หมู่บ้าน (ประมาณ 4,384–7,807 ครัวเรือน หรือ 22,000–43,000 คน) จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เขตนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ ถนนเชื่อมต่อ อ่างเก็บน้ำ (เขื่อน) และพื้นที่รองรับชาวบ้านที่ต้องถูกอพยพโยกย้าย นอกจากนี้ เนื่องจากเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายตั้งอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของประชาชนซึ่งห่างจากตัวเมืองทวาย – เมืองหลวงของแคว้นตะนาวศรีเพียง 20 กิโลเมตร จึงมีความแนวโน้มสูงว่า ประชากรในจังหวัดทวาย ทั้งที่อาศัยในชนบท ริมชายฝั่งทะเล และในตัวเมืองจะได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบอื่น ๆ จากนิคมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หากโครงการยังเดินหน้าต่อไป
การวิจัยนี้ได้สำรวจหมู่บ้าน 20 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ทางการสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (9 หมู่บ้าน) ในเขตพื้นที่ถนนเชื่อมต่อ (8 หมู่บ้าน) และใน 3 หมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่นอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่ว่าได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการ ซึ่งได้แก่ พื้นที่รองรับผู้อพยพ พื้นที่ท่าเรือขนาดเล็ก และพื้นที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (เขื่อน) คณะวิจัยท้องถิ่นได้เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากการสุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,583 ครัวเรือน โดยเข้าสำรวจในทุก ๆ หนึ่งในสามครัวเรือนของแต่ละหมู่บ้าน และยังได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ใน 18 หมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการติดตามสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ของชาวบ้านที่ถูกอพยพออกจากพื้นที่โครงการ
ข้อค้นพบหลักของการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ที่ดินเป็นทรัพยากรสำคัญสำหรับการดำรงชีพ ของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ที่จะถูกผลกระทบจากโครงการ ผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ (71 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ในหลายกรณี ชาวบ้านไม่ได้เพาะปลูกเพียงพืชเชิงเดี่ยวในที่ดินทำกิน หากแต่ใช้ที่ดินอย่างหลากหลาย ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร หรือแหล่งรายได้ (หรือเป็นทั้งแหล่งอาหารและรายได้) วิถีการดำรงชีพที่เกี่ยวข้องกับที่ดินมิใช่เพียงแค่การเพาะปลูกพืชเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการทำปศุสัตว์ การประมง และการหาของป่า ซึ่งสร้างรายได้อย่างมีนัยสำคัญถึง 13 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนทั้งหมดที่ได้รับการสำรวจ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า 71 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนทั้งหมดจะต้องสูญเสียที่ดิน – ไม่ว่าจะทั้งหมด หรือบางส่วน ให้กับโครงการ – โดยในขณะนี้ ชาวบ้านหลายคนได้สูญเสียที่ดินไปแล้ว ไม่ว่าทั้งทางตรงจากการยึดเวนคืนที่ดิน หรือทางอ้อมจากการที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ เนื่องจากดินถล่มและขัดขวางทางน้ำ อันเป็นผลมาจากการดำเนินงานของโครงการ
การวิจัยครั้งนี้ค้นพบความผิดพลาดอย่างร้ายแรงในกระบวนการยืดเวนคืนที่ดินและการจ่ายค่าชดเชย
ประการแรก ชุมชนที่สำรวจ ได้รับข้อมูลอย่างจำกัด เกี่ยวกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและการอพยพโยกย้ายชาวบ้าน สองในสามของครัวเรือนที่สำรวจ (66 เปอร์เซ็นต์) ไม่ได้รับข้อมูลใด ๆ จากทั้งรัฐบาลและบริษัท สำหรับชาวบ้านที่ได้รับข้อมูลจากรัฐบาลหรือบริษัท ส่วนใหญ่ (ประมาณสามในห้าของครัวเรือน) ระบุว่าได้รับเพียงข้อมูลผลกระทบเชิงบวกและผลประโยชน์จากโครงการ มีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์จากครัวเรือนที่สำรวจทั้งหมดที่รับรู้ว่า จะมีการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และปิโตรเคมี ในพื้นที่ละแวกใกล้เคียง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบหลักของแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
ประการที่สอง ไม่มีการปรึกษาหารือที่มีความหมาย กับผู้ได้รับผลกระทบ มีเพียง 27 เปอร์เซ็นต์ของผู้ถูกสำรวจที่ระบุว่า ได้เข้าร่วมประชุมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโครงการ ชาวบ้านผู้เข้าร่วมในการสนทนากลุ่มได้อธิบายว่า การประชุมดังกล่าวเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลแบบ “ทางเดียว” และสำหรับชาวบ้านที่เข้าร่วมในการประชุม พบว่า 82 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้มีส่วนร่วมในการพูดคุยอภิปรายในวงประชุม ส่วนใหญ่เป็นเพราะว่าพวกเขาไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น หรือไม่มีโอกาสได้ตั้งคำถามในที่ประชุม มีครัวเรือนเพียง 8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ยินยอมให้รัฐบาลก่อสร้างก่อนโครงการเริ่มขึ้น
ประการที่สาม กระบวนการจ่ายค่าชดเชยมีข้อผิดพลาดร้ายแรง การคำนวนและการจ่ายค่าชดเชยไม่ยุติธรรม ไม่โปร่งใส และไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดการจ่ายค่าชดเชยทั้งหมดต่อสาธารณะ ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์จากครัวเรือนทั้งหมดที่ถูกสำรวจให้ข้อมูลว่าได้รับค่าชดเชย พบว่าสี่ในห้าของผู้ที่ได้รับค่าชดเชย ยังมิได้รับค่าชดเชยครบถ้วนทั้งหมด และยังคงรอการจ่ายให้ครบตามจำนวน มีผู้ที่ได้รับค่าชดเชยเพียง 9 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับเอกสารการจ่ายค่าชดเชยอย่างเป็นทางการ ซึ่งบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้สูงในการทุจริตคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ จำนวนเงินที่ชาวบ้านได้รับมาโดยส่วนมากไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในอนาคตของครอบครัว การจัดการพื้นที่รองรับชาวบ้านที่ต้องถูกอพยพยังไม่เพียงพอ เนื่องจากพบว่าชาวบ้านที่ถูกอพยพมีมาตรฐานการครองชีพต่ำลงจากเดิมมาก และในบางกรณี ครอบครัวที่โยกย้ายไปแล้วกลับต้องประสบกับสภาพการณ์ที่ยากลำบากยิ่ง
ผู้สนับสนุนและหุ้นส่วนในโครงการนี้ โดยเฉพาะรัฐบาลเมียนมาร์และรัฐบาลไทย มีพันธกรณีทางกฎหมายที่ต้องเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนของชุมชนและบุคคลผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ ผู้ที่รับผิดชอบในโครงการยังคงไม่สามารถพิจารณาหรือให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการพัฒนา การปิดกั้นไม่ให้ชาวบ้านเข้าถึงพื้นที่ทำกินของตนและที่ดินอื่น ๆ โดยมิได้จัดการเรื่องค่าชดเชย การอพยพโยกย้ายและการเยียวยาฟื้นฟูที่เพียงพอ ทำให้วิถีการดำรงชีพและความอยู่รอดของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบต้องตกอยู่ในความเสี่ยง ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านมาตรฐานความเป็นอยู่อย่างพอเพียงในการดำรงชีวิต
โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายได้ดำเนินการโดยไม่ได้รับความยินยอมที่เป็นอิสระ ล่วงหน้า และได้รับข้อมูลเพียงพอ (Free Prior and Informed Consent – FPIC) จากชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิชนพื้นเมืองดั้งเดิม งานวิจัยและการวิเคราะห์ฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า หุ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงการไม่ได้ปฏิบัติตามพันธกรณีทางกฎหมาย มาตรฐาน และความรับผิดชอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับระหว่างประเทศ ภูมิภาค และภายในประเทศ รวมถึงมาตรฐานสากลว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานโดยไม่สมัครใจ
เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาอีกหลายประเทศ ประเทศเมียนมาร์ยังคงขาดกฎหมายที่เพียงพอในการควบคุมการลงทุนอุตสาหกรรมและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ในฐานะเพื่อนบ้านที่ดี รัฐบาลไทยจำเป็นต้องสร้างหลักประกันว่า การลงทุนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศทั้งในเรื่องการบังคับโยกย้ายออกจากพื้นที่ สิทธิการเข้าถึงแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ และสิทธิชนพื้นเมือง รัฐบาลไทยควรดำเนินการตรวจสอบและบังคับใช้มาตรการที่เหมาะสมต่อบริษัทต่าง ๆ ของไทยที่ดำเนินโครงการพัฒนาโดยละเมิดสิทธิมนุษยชนของชุมชน ไม่ว่าบริษัทของไทยเหล่านั้นจะดำเนินงานอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของไทยและเมียนมาร์ ควรร่วมมือดำเนินการตรวจสอบอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความโปร่งใส มีความสม่ำเสมอ และทันท่วงทีต่อการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการยึดครองที่ดินและการบังคับขับไล่ชาวบ้านออกจากที่ดิน อันเป็นผลสืบเนื่องมากจากกิจกรรมหรือการดำเนินการของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่ดำเนินงานโดยบริษัทต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทย และเมียนมาร์
ความล้มเหลวเชิงระบบในการดำเนินงานช่วงแรกของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ได้สร้างความยากลำบากให้กับผู้ได้รับผลกระทบ ชาวบ้านจำนวนมากได้แสดงความรู้สึกลึก ๆ ถึงความไม่เป็นธรรมที่โครงการกระทำกับพวกเขา ชาวบ้านกล่าวว่าพวกเขาไม่ได้ต่อต้านการพัฒนา แต่ต้องการการพัฒนาที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการควรคำนึงถึงข้อกังวลชาวบ้านอย่างจริงจัง และดำเนินการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการยกระดับความมั่นคงในการดำรงชีพของชุมชนท้องถิ่นและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลโดย สมาคมพัฒนาทวาย (Dawei Development Association DDA) พร้อมกับชาวบ้านซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone – DSEZ) และกลุ่มประชาสังคมจากทวาย
ลำดับเหตุการณ์สำคัญ (พ.ศ. 2551-2556)
(382 views)
เนื้อหาสรุปรายงานต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนกรณีทวาย
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานฉบับนี้นำเสนอการตรวจสอบโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone) ทางตอนใต้ของประเทศเมียนมาร์ ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง โครงการดังกล่าวจะเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รายงานฉบับนี้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อเข้าใจถึงกระบวนการพัฒนาการของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และสิทธิของชาวบ้าน ว่าได้รับการปกป้องและเคารพโดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการมากน้อยเพียงใด
เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเป็นโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีที่เป็นหุ้นส่วนร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมาร์ ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2551 ต่อมาในปี 2553 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเพื่อดำเนินโครงการเป็นระยะเวลา 60 ปี โดยดำเนินงานทั้งหมดผ่าน บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ซึ่งถือหุ้นโดย บริษัท อิตาเลียนไทยฯ (75 เปอร์เซ็นต์) และบริษัท แม็กซ์ เมียนมาร์ จำกัด (25 เปอร์เซ็นต์) บริษัทหุ้นส่วนท้องถิ่น แต่ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2555 บริษัท แม็กซ์ เมียนมาร์ ได้ถอนตัวจากการลงทุนใน บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ อีกทั้งการแสวงหาหุ้นส่วนในการลงทุนก็ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุดังกล่าวโครงการจึงหยุดชะงักในปัจจุบัน
ในเดือนพฤศจิกายน 2556 สิทธิสัมปทานของโครงการถูกโอนให้กับบริษัทรูปแบบใหม่ คือ “นิติบุคคลเฉพาะกิจ” (Special Purpose Vihicle – SPV) ในรูปแบบของบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐบาลเมียนมาร์และรัฐบาลไทย โดยมุ่งเน้นถึงความรับผิดชอบโดยตรงของทั้งสองประเทศต่อโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
เมื่อโครงการเปิดตัวขึ้นในปี 2551 ที่ดินในบางพื้นที่ถูกแผ้วถางและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขั้นต้นได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว
องค์ประกอบหลักของโครงการคือ นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งรวมไปถึง ท่าเรือน้ำลึกและอู่ต่อเรือ โรงกลั่นน้ำมันครบวงจร โรงถลุงเหล็ก โรงงานผลิตปุ๋ยเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงงานแปรรูปกระดาษ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและเบา และโรงไฟฟ้าหนึ่งโรงหรือมากกว่านั้น โครงการก่อสร้างดังกล่าวยังขยายไปเกินกว่าบริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างประเทศเพื่อเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายกับประเทศไทย รวมถึงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันและก๊าซคู่ขนานกับเส้นทางถนนดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีแผนการก่อสร้างเขื่อนเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ท่าเรือขนาดเล็กทางทิศใต้ เหมืองหินทางทิศเหนือ และหมู่บ้านรองรับชาวบ้านที่ต้องถูกอพยพโยกย้ายจากพื้นที่ก่อสร้างโครงการ
หมู่บ้านทั้งหมดที่ทำการวิจัยในครั้งนี้เป็นหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบโดยตรงแล้วทั้งสิ้นจากโครงการ จากข้อมูล ณ ปัจจุบันที่ระบุถึงแผนงานในอนาคตของโครงการ คาดการณ์ว่าชาวบ้านจาก 20–36 หมู่บ้าน (ประมาณ 4,384–7,807 ครัวเรือน หรือ 22,000–43,000 คน) จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เขตนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ ถนนเชื่อมต่อ อ่างเก็บน้ำ (เขื่อน) และพื้นที่รองรับชาวบ้านที่ต้องถูกอพยพโยกย้าย นอกจากนี้ เนื่องจากเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายตั้งอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของประชาชนซึ่งห่างจากตัวเมืองทวาย – เมืองหลวงของแคว้นตะนาวศรีเพียง 20 กิโลเมตร จึงมีความแนวโน้มสูงว่า ประชากรในจังหวัดทวาย ทั้งที่อาศัยในชนบท ริมชายฝั่งทะเล และในตัวเมืองจะได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบอื่น ๆ จากนิคมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หากโครงการยังเดินหน้าต่อไป
การวิจัยนี้ได้สำรวจหมู่บ้าน 20 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ทางการสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (9 หมู่บ้าน) ในเขตพื้นที่ถนนเชื่อมต่อ (8 หมู่บ้าน) และใน 3 หมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่นอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่ว่าได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการ ซึ่งได้แก่ พื้นที่รองรับผู้อพยพ พื้นที่ท่าเรือขนาดเล็ก และพื้นที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (เขื่อน) คณะวิจัยท้องถิ่นได้เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากการสุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,583 ครัวเรือน โดยเข้าสำรวจในทุก ๆ หนึ่งในสามครัวเรือนของแต่ละหมู่บ้าน และยังได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ใน 18 หมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการติดตามสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ของชาวบ้านที่ถูกอพยพออกจากพื้นที่โครงการ
ข้อค้นพบหลักของการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ที่ดินเป็นทรัพยากรสำคัญสำหรับการดำรงชีพ ของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ที่จะถูกผลกระทบจากโครงการ ผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ (71 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ในหลายกรณี ชาวบ้านไม่ได้เพาะปลูกเพียงพืชเชิงเดี่ยวในที่ดินทำกิน หากแต่ใช้ที่ดินอย่างหลากหลาย ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร หรือแหล่งรายได้ (หรือเป็นทั้งแหล่งอาหารและรายได้) วิถีการดำรงชีพที่เกี่ยวข้องกับที่ดินมิใช่เพียงแค่การเพาะปลูกพืชเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการทำปศุสัตว์ การประมง และการหาของป่า ซึ่งสร้างรายได้อย่างมีนัยสำคัญถึง 13 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนทั้งหมดที่ได้รับการสำรวจ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า 71 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนทั้งหมดจะต้องสูญเสียที่ดิน – ไม่ว่าจะทั้งหมด หรือบางส่วน ให้กับโครงการ – โดยในขณะนี้ ชาวบ้านหลายคนได้สูญเสียที่ดินไปแล้ว ไม่ว่าทั้งทางตรงจากการยึดเวนคืนที่ดิน หรือทางอ้อมจากการที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ เนื่องจากดินถล่มและขัดขวางทางน้ำ อันเป็นผลมาจากการดำเนินงานของโครงการ
การวิจัยครั้งนี้ค้นพบความผิดพลาดอย่างร้ายแรงในกระบวนการยืดเวนคืนที่ดินและการจ่ายค่าชดเชย
ประการแรก ชุมชนที่สำรวจ ได้รับข้อมูลอย่างจำกัด เกี่ยวกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและการอพยพโยกย้ายชาวบ้าน สองในสามของครัวเรือนที่สำรวจ (66 เปอร์เซ็นต์) ไม่ได้รับข้อมูลใด ๆ จากทั้งรัฐบาลและบริษัท สำหรับชาวบ้านที่ได้รับข้อมูลจากรัฐบาลหรือบริษัท ส่วนใหญ่ (ประมาณสามในห้าของครัวเรือน) ระบุว่าได้รับเพียงข้อมูลผลกระทบเชิงบวกและผลประโยชน์จากโครงการ มีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์จากครัวเรือนที่สำรวจทั้งหมดที่รับรู้ว่า จะมีการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และปิโตรเคมี ในพื้นที่ละแวกใกล้เคียง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบหลักของแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
ประการที่สอง ไม่มีการปรึกษาหารือที่มีความหมาย กับผู้ได้รับผลกระทบ มีเพียง 27 เปอร์เซ็นต์ของผู้ถูกสำรวจที่ระบุว่า ได้เข้าร่วมประชุมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโครงการ ชาวบ้านผู้เข้าร่วมในการสนทนากลุ่มได้อธิบายว่า การประชุมดังกล่าวเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลแบบ “ทางเดียว” และสำหรับชาวบ้านที่เข้าร่วมในการประชุม พบว่า 82 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้มีส่วนร่วมในการพูดคุยอภิปรายในวงประชุม ส่วนใหญ่เป็นเพราะว่าพวกเขาไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น หรือไม่มีโอกาสได้ตั้งคำถามในที่ประชุม มีครัวเรือนเพียง 8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ยินยอมให้รัฐบาลก่อสร้างก่อนโครงการเริ่มขึ้น
ประการที่สาม กระบวนการจ่ายค่าชดเชยมีข้อผิดพลาดร้ายแรง การคำนวนและการจ่ายค่าชดเชยไม่ยุติธรรม ไม่โปร่งใส และไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดการจ่ายค่าชดเชยทั้งหมดต่อสาธารณะ ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์จากครัวเรือนทั้งหมดที่ถูกสำรวจให้ข้อมูลว่าได้รับค่าชดเชย พบว่าสี่ในห้าของผู้ที่ได้รับค่าชดเชย ยังมิได้รับค่าชดเชยครบถ้วนทั้งหมด และยังคงรอการจ่ายให้ครบตามจำนวน มีผู้ที่ได้รับค่าชดเชยเพียง 9 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับเอกสารการจ่ายค่าชดเชยอย่างเป็นทางการ ซึ่งบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้สูงในการทุจริตคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ จำนวนเงินที่ชาวบ้านได้รับมาโดยส่วนมากไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในอนาคตของครอบครัว การจัดการพื้นที่รองรับชาวบ้านที่ต้องถูกอพยพยังไม่เพียงพอ เนื่องจากพบว่าชาวบ้านที่ถูกอพยพมีมาตรฐานการครองชีพต่ำลงจากเดิมมาก และในบางกรณี ครอบครัวที่โยกย้ายไปแล้วกลับต้องประสบกับสภาพการณ์ที่ยากลำบากยิ่ง
ผู้สนับสนุนและหุ้นส่วนในโครงการนี้ โดยเฉพาะรัฐบาลเมียนมาร์และรัฐบาลไทย มีพันธกรณีทางกฎหมายที่ต้องเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนของชุมชนและบุคคลผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ ผู้ที่รับผิดชอบในโครงการยังคงไม่สามารถพิจารณาหรือให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการพัฒนา การปิดกั้นไม่ให้ชาวบ้านเข้าถึงพื้นที่ทำกินของตนและที่ดินอื่น ๆ โดยมิได้จัดการเรื่องค่าชดเชย การอพยพโยกย้ายและการเยียวยาฟื้นฟูที่เพียงพอ ทำให้วิถีการดำรงชีพและความอยู่รอดของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบต้องตกอยู่ในความเสี่ยง ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านมาตรฐานความเป็นอยู่อย่างพอเพียงในการดำรงชีวิต
โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายได้ดำเนินการโดยไม่ได้รับความยินยอมที่เป็นอิสระ ล่วงหน้า และได้รับข้อมูลเพียงพอ (Free Prior and Informed Consent – FPIC) จากชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิชนพื้นเมืองดั้งเดิม งานวิจัยและการวิเคราะห์ฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า หุ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงการไม่ได้ปฏิบัติตามพันธกรณีทางกฎหมาย มาตรฐาน และความรับผิดชอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับระหว่างประเทศ ภูมิภาค และภายในประเทศ รวมถึงมาตรฐานสากลว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานโดยไม่สมัครใจ
เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาอีกหลายประเทศ ประเทศเมียนมาร์ยังคงขาดกฎหมายที่เพียงพอในการควบคุมการลงทุนอุตสาหกรรมและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ในฐานะเพื่อนบ้านที่ดี รัฐบาลไทยจำเป็นต้องสร้างหลักประกันว่า การลงทุนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศทั้งในเรื่องการบังคับโยกย้ายออกจากพื้นที่ สิทธิการเข้าถึงแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ และสิทธิชนพื้นเมือง รัฐบาลไทยควรดำเนินการตรวจสอบและบังคับใช้มาตรการที่เหมาะสมต่อบริษัทต่าง ๆ ของไทยที่ดำเนินโครงการพัฒนาโดยละเมิดสิทธิมนุษยชนของชุมชน ไม่ว่าบริษัทของไทยเหล่านั้นจะดำเนินงานอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของไทยและเมียนมาร์ ควรร่วมมือดำเนินการตรวจสอบอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความโปร่งใส มีความสม่ำเสมอ และทันท่วงทีต่อการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการยึดครองที่ดินและการบังคับขับไล่ชาวบ้านออกจากที่ดิน อันเป็นผลสืบเนื่องมากจากกิจกรรมหรือการดำเนินการของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่ดำเนินงานโดยบริษัทต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทย และเมียนมาร์
ความล้มเหลวเชิงระบบในการดำเนินงานช่วงแรกของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ได้สร้างความยากลำบากให้กับผู้ได้รับผลกระทบ ชาวบ้านจำนวนมากได้แสดงความรู้สึกลึก ๆ ถึงความไม่เป็นธรรมที่โครงการกระทำกับพวกเขา ชาวบ้านกล่าวว่าพวกเขาไม่ได้ต่อต้านการพัฒนา แต่ต้องการการพัฒนาที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการควรคำนึงถึงข้อกังวลชาวบ้านอย่างจริงจัง และดำเนินการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการยกระดับความมั่นคงในการดำรงชีพของชุมชนท้องถิ่นและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลโดย สมาคมพัฒนาทวาย (Dawei Development Association DDA) พร้อมกับชาวบ้านซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone – DSEZ) และกลุ่มประชาสังคมจากทวาย
ลำดับเหตุการณ์สำคัญ (พ.ศ. 2551-2556)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น