วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การทำมะพร้าวเผา: การทำมะพร้าวเผา

การทำมะพร้าวเผา: การทำมะพร้าวเผา: การทำมะพร้าวเผา หวัดดีครับ วันนี้มี วิธีทำมะพร้าวเผา มานำเสนอ ผิดบ้างถูกบ้าง ก็อย่าว่ากันนะครับ.... ที่บ้านแม่จะปลูกมะพร้าวใว้เป็นแนวเขตแด...

การทำมะพร้าวเผา: การทำมะพร้าวเผา

การทำมะพร้าวเผา: การทำมะพร้าวเผา: การทำมะพร้าวเผา หวัดดีครับ วันนี้มี วิธีทำมะพร้าวเผา มานำเสนอ ผิดบ้างถูกบ้าง ก็อย่าว่ากันนะครับ.... ที่บ้านแม่จะปลูกมะพร้าวใว้เป็นแนวเขตแด...

การทำมะพร้าวเผา: การทำมะพร้าวเผา

การทำมะพร้าวเผา: การทำมะพร้าวเผา: การทำมะพร้าวเผา หวัดดีครับ วันนี้มี วิธีทำมะพร้าวเผา มานำเสนอ ผิดบ้างถูกบ้าง ก็อย่าว่ากันนะครับ.... ที่บ้านแม่จะปลูกมะพร้าวใว้เป็นแนวเขตแด...

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ผู้ประกอบการคอนโดฯผวา กฎใหม่อีไอเอ" มลพิษทางทัศนวิสัย

    ผวา!กฎใหม่EIA มลพิษทางทัศนวิสัย


ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ผู้ประกอบการคอนโดฯผวา กฎใหม่อีไอเอ" มลพิษทางทัศนวิสัย " ก่อนสร้างต้องถามชุมชนรอบข้าง หวั่งบดบังทัศนียภาพ- เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในพื้นที่ เหตุบางรายเจอแจ๊กพอตถูกตีกลับแล้ว เอกชนโวยลั่น จ้องฟ้องศาลปกครอง กรณีกฎอีไอเอออกมาเป็นระลอก ขัดก.ม.แม่ อย่าง พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร -ผังเมือง เช่นเดียวกับโรงงาน 30แห่ง ที่มาบตาพุด ที่เกิดความเสียหาย ด้าน คชก.ระบุเจตนาคุ้มครองสวล.
นางนันทิยา ทองยิ่งสกุล นักวิชาการที่ดินชำนาญการพิเศษ กรมที่ดิน หนึ่งในคณะกรรมการชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน (คชก.) ที่มีเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)



เป็นประธานเปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" กรณีที่ คชก. ได้ มีความเห็นในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการยื่นขออนุญาตทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)เพิ่มเติมคือ ก่อนก่อสร้างโครงการคอนโดมิเนียม จะต้องสอบถามชุมชนรอบข้างด้วยว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีตึกสูงเกิดขึ้นบริเวณข้างๆ หรือ กลางชุมชน ซึ่งคชก.เกรงว่าหากปล่อยให้มีการก่อสร้าง จะก่อให้เกิดมลพิษทางทัศนวิสัย หรือ การก่อสร้างอาคารที่บดบังทัศนียภาพ อาคารเก่าที่เกิดก่อน

"หากโครงการยื่นเข้ามา และเกรงว่า น่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญกับชุมชนรอบข้าง หรือชุมชนมีการร้องเรียนเข้ามา คชก.จะให้เจ้าของโครงการกลับไปแก้ไขปรับแบบให้สอดคล้องกับพื้นที่เพื่อลดผลกระทบ ซึ่งข้อเสนอนี้เกิดจากเมื่อไม่นานมานี้ ผู้ทรงคุณวุฒิ หนึ่งในคชก.ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องภูมิสถาปัตย์ ได้ท้วงติงโครงการคอนโดมิเนียมแบรนด์ดังย่านฝั่งธนบุรีรายหนึ่งที่ยื่นขออีไอเอว่า หากมีการก่อสร้างเกิดขึ้น เกรงว่าจะบังทัศนียภาพอาคารเก่า ขณะเดียวกันได้มีการฟ้องร้องกันระหว่างเจ้าของโครงการ ส่งผลให้ คชก. ต้องตีเรื่องกลับให้แก้ไขแบบใหม่ พร้อมทั้งให้แจงรายละเอียดว่า จะทำอย่างไรไม่ให้กระทบต่ออาคารข้างเคียง เพราะมีการร้องเรียนว่า โครงการใหม่สร้างเบียดชิดอาคารเก่าที่สร้างอยู่เดิม โดยแนวทางแก้ไขแบบเช่น ให้เบี่ยงบีบตัวอาคารให้แคบลง หรือปรับถอยร่นหรือระยะเว้นว่างของอาคารออกไปอีกระยะหนึ่ง "

นางนันทิยา กล่าวอีกว่า การพิจารณาโครงการคอนโดมิเนียม ที่ต้องทำอีไอเอ ที่ผ่านมา คชก. ได้พิจารณาไปตามกรอบกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ซึ่งส่วนใหญ่จะผ่านการพิจารณา และตรวจสอบตามข้อเท็จจริง โดยต้องยอมรับว่าปัจจุบันโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นมากตามความต้องการตลาด เมื่อเห็นทำเลดีก็ซื้อที่ดินขึ้นโครงการทันที แต่ละโครงการ บางรายมีมากกว่า 1,000 หน่วย จริงอยู่ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ ผังเมืองในพื้นที่อาจให้พัฒนา แต่จะต้องคำนึงถึงชุมชนโดยรอบที่อยู่อาศัยมาก่อนด้วยว่า ได้รับผลกระทบจากอาคารสูง-ใหญ่ที่เกิดขึ้นในภายหลังหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ คชก.ได้ให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะการสร้างอาคารที่ก่อให้เกิดการบดบังทัศนียภาพ หรือ ที่เรียกว่ามลพิษทางทัศนวิสัย เช่นตัวอย่างที่เกิดขึ้นที่ร้องเรียนกัน คือ ตากผ้าไม่แห้ง เพราะคอนโดฯสร้างบังแสงแดด , บังทิศทางลม , เกิดเสียงรบกวน ,ขยะหรือสิ่งของหล่นใส่หลังคาบ้าน , ตึกขวางทางน้ำทำให้บริเวณนั้นเกิดน้ำท่วมเป็นต้น

"ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะตึกสูงทุกวันนี้เกิดขึ้นมากจนทำลายสภาพแวดล้อมเสียหาย ดังนั้น จะต้องออกกติกา อีไอเอ เพื่อปกป้องลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดีมั่นใจว่า ผู้ชำนาญการแต่ละฝ่ายพิจารณาอย่างเป็นธรรมไม่ขัดต่อกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้อง"

ด้านนายอธิป พีชานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ศุภาลัย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า กรณีที่ คชก.กำหนดหลักเกณฑ์อะไรขึ้นมาแปลกๆใหม่ๆ ควรแจ้งผู้ประกอบการทราบล่วงหน้า หรือ หากเป็นไปได้ ควรไตร่ตรองก่อนเพราะจะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการและผู้บริโภคต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งผู้ประกอบการสามารถฟ้องศาลปกครองได้ เพราะแนวทางปฏิบัติใหม่ๆที่ออกมาล้วนแต่ใช้ดุลพินิจและขัดต่อกฎหมายแม่ อย่างกฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายผังเมือง ที่กำหนดโซนพัฒนาและขึ้นอาคารสูงได้ แต่เมื่อซื้อที่ดินเพื่อลงทุนพัฒนา คชก. กลับระบุว่าไม่สามารถพัฒนาได้ หรือ พัฒนาได้ แต่ต้องจำกัดความสูง เพราะข้ออ้างที่ว่าจะต้องถามคนในพื้นที่รอบข้างก่อนว่าสร้างได้หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดมลพิษทางวิสัยทัศน์

"แน่นอนว่า ผู้ประกอบการจะเป็นฝ่ายชนะคดี เพราะศาลจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามตัวบทกฎหมายแม่เป็นหลักแต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการทุกรายไม่ต้องการเสียเวลา เพราะกฎอีไอเอออกมาไม่เกิน 2-4 เดือนก็ยกเลิกเพราะคณะกรรมการบางคนหมดวาระ หากโครงการขออนุญาตช่วงนั้นก็ต้องแบกภาระไป ซึ่งไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น บังคับให้ ปลูกต้นไม้ 1ต้นต่อแอร์ 1 ตัน ซึ่งบังคับใช้ได้ 4 เดือนก็ยกเลิกไป หรือคอนโดฯทุกหลังต้องเว้นระยะถอยร่น(พื้นที่เว้นว่างรอบอาคาร) 6 เมตร แม้จะเป็นอาคารไม่ถึง10,000 ตารางเมตร สูงไม่เกิน 23 เมตรก็ตาม รวมทั้งติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยเทียบเท่าอาคารสูงอาคารขนาดใหญ่ ทั้งที่กฎหมายควบคุมอาคาร กำหนดระยะถอยร่นอาคารทั่วไปเพียง 3เมตร แต่เรื่องนี้ก็บังคับใช้ไม่นานก็ยกเลิกไป ซึ่งช่วงนั้นมีกว่า 10โครงการที่ต้องปฏิบัติตามขณะที่ที่ดินในเมืองค่อนข้างแพง หรืออีกกรณีที่ บังคับให้ผู้ประกอบการต้องออกแบบที่ตั้งแคมป์คนงานก่อนว่าอยู่บริเวณไหนทั้งที่โครงการยังไม่ก่อสร้าง และไม่ได้ผู้รับเหมา การบังคับให้ออกแบบบ่อหน่วงน้ำ(บ่อพักน้ำเสีย) ก่อนมีการก่อสร้างว่าหน้าตาเป็นอย่างไรตั้งอยู่บริเวณไหน เป็นต้น แต่ทั้งหมดก็ถูกยกเลิกไป และมีเรื่องใหม่ๆเกิดขึ้นอีกตามวาระของคชก."
ขณะที่ นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทยกล่าวว่า ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการคอนโดมิเนียมจำนวนมากอยากฟ้องคชก. เพราะทำให้โครงการเสียหายล่าช้า เหมือนกับโรงงานอุตสาหกรรมมาบตาพุดกว่า 30 โรง ที่ได้รับผลกระทบจากการพิจารณาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งขณะนี้ สมาคมอยู่ระหว่างเจรจากับสผ.ที่จะให้การพิจารณาของคชก.อยู่ในกรอบข้อกฎหมายและออกหลักเกณฑ์ข้อบังคับที่ชัดเจนในทางปฏิบัติต่อไป







   
        ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ : 14/มี.ค./2554