วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ถาม : เกณฑ์ของการศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อม



ปัญหาเรื่องขออนุญาตจัดสรร

ถาม : เกณฑ์ของการศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อม

ตอบ : ในช่วง 2-3 เดือน ที่ผ่านมาได้มีคำถามเข้ามายังสมาคมเป็นจำนวนมาก ในเรื่องของเกณฑ์ใหม่ ที่จะ
ให้โครงการจัดสรรต่ำกว่า 500 แปลง ต้องศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งคำถามโดยส่วนใหญ่ 
แบ่งเป็นดังนี้
 1.ต้องการทราบรายละเอียดของเกณฑ์ใหม่ในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
 2.ถามความเห็นของสมาคมว่าเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร
 3.ถามในเชิงแสดงความคิดเห็นว่า มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นหรือไม่
 4.ถามว่าควรมีทางออกอย่างไร

ผมจึงขออนุญาตตอบรวมในทุกคำถามและนำเสนอในส่วนที่เป็นความเห็นคือเมื่อวันที่ 31 
พฤษภาคม 2547 ได้มีมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ปรับปรุงประเภทและขนาดของ
โครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ที่ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้การจัดทำโครงการ
จัดสรรที่ดิน (ถูกกฎหมาย) ตั้งแต่ 300-499 แปลง หรือ 50-100 ไร่ ต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 
เบื้องต้น (Initial Environmental Evaluation : IEE) ซึ่งแต่เดิมโครงการจัดสรรในแนวราบจะรายงาน
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Asscssment : EIA)  เมื่อมีจำนวนตั้ง 
500 แปลง หรือเกินกว่า 100 ไร่

ผมเห็นความจำเป็นของโครงการหลายประเภท ที่ควรต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่ง
แวดล้อม เช่น โรงโม่และบดย่อยหิน เหมืองแร่ เหมืองถ่านหิน เหมืองใต้ดิน อาคารสูงที่อยู่ใกล้วัด,วัง,
ศาสนสถาน,สถาบันโบราณสถาน ฯลฯ แต่บ้านเดี่ยว 14-15 หลัง ในพื้นที่ ก.3 บ้านเดี่ยว 130-140 
หลัง (50 ไร่) ในพื้นที่ ก1,ก2,ย 1 หรือทาวน์เฮ้าส์ประมาณ 25 ไร่ (300 หลัง) ในพื้นที่ ย3,ย4,ย5 ต้อง
จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ซึ่งผมเห็นว่าโครงการขนาดดังกล่าว ไม่ควรต้อง
มีภาระในการจัดทำ IEE อีกด้วยเหตุผลคือ

1.กฎหมายผังเมือง (ทุกจังหวัด) ได้จำกัด พื้นที่การก่อสร้างไว้แล้วว่า พื้นที่ใดให้สร้างอาคารประเภท
ใด หรือห้ามสร้างอาคารประเภทใดโดยกำหนดทั้งขนาดและรูปแบบ เช่น ต้องเป็นบ้านเดี่ยว บ้าน
แฝด ทาวน์เฮ้าส์ หรือต้องมีพื้นที่ 100 ตร.ว. 1 แปลง 1,000 ตร.ว. ต่อแปลง และบางพื้นที่สร้างได้ไม่
เกิน 2,000 ตร.ม. หรือสูงไม่เกิน 23 เมตร รวมถึงการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่เกษตรกรรม และ
ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การจราจรสร้างได้ไม่เกิน 2,000 ตร.ม. หรือสูงไม่เกิน 23 เมตร รวม
ถึงการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่เกษตรกรรม และข้อกำหนดที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การจราจร

2.กฎหมายการจัดสรรที่ดิน คือ พ.ร.บ. จัดสรร 2543 ได้ควบคุมการจัดสรรที่ดินอยู่แล้ว และข้อ
กำหนดการจัดสรรที่ดินของทุกจังหวัด สาระสำคัญเป็นเรื่องที่ว่าด้วยสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย 
สาธารณะสุข

3.ข้อบัญญัติท้องถิ่น หลายเรื่องก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสภาพแวดล้อมอยู่แล้วตัวอย่งคือ 
ข้อบัญญัติ กทม. ที่กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง อาคารบางชนิด เช่น
 1.เพื่ออนุรักษ์โบราณสถานและบริเวณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
 2.เพื่อรักษาความปลอดภัยของสถาบันระดับสูงและบริเวณที่สมควรรักษาเป็นพิเศษ
เฉพาะแห่ง
 3.เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีของบริเวณที่อยู่อาศัย
 4.เพื่อกำหนดพื้นที่รับน้ำตามโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร
 5.เพื่อสงวนพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ใกล้เมือง
 6.เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาจราจร และเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยริมถนนสาย
หลักที่สำคัญ

4.กฎหมายอื่น ๆ พระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างปี 2522 กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 หรือข้อบัญญัติว่า
ด้วยการขุดดิน หรือถมดิน การรักษาความสะอาด การระบายน้ำ ฯลฯ ล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่ง
แวดล้อมทั้งสิ้น

5.ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ผ่านมาต้องมีค่าใช้จ่ายไม่น้อย
กว่า 250,000 บาทขึ้นไปต่อโครงการ (รายงาน 1 ฉบับ)

6.ที่ผ่านมาการศึกษา EIA ต้องใช้เวลานาน (หลายโครงการใช้เวลาเกินกว่า 1 ปี ) และในการ
ประกอบการระยะเวลาก็คือ ดอกเบี้ย และการสูญเสียทางเศรษฐกิจ

7.เกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ขาดข้อปฏิบัติที่ชัดเจนว่าห้ามทำอะไรหรือ
ให้ทำอะไร เกือบทุกเรื่องจะเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการ แม้แต่โครงการซึ่งอยู่ติดกันมี
ลักษณะเหมือนกัน ก็มีดุลพินิจในการให้ปฏิบัติและห้ามปฏิบัติไม่เหมือนกัน

โดยสรุปผมเห็นว่าเป็นเรื่องความซ้ำซ้อนของกฎหมาย เป็นเรื่องของเวลาที่ค่าใช้จ่ายที่เกินจำเป็น
และขาดข้อปฏิบัติที่ชัดเจนในการให้ปฏิบัติหรือห้ามปฏิบัติผมเห็นว่ามีแนวทางที่จะดูแลสิ่งแวดล้อม
ได้ดีกว่า และมีหน่วยงานกำกับดูแลได้ด้วยคือ

1.องค์ประกอบของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง (ตาม พ.ร.บ. จัดสรร 2543) มีเลขาธิการสำนัก
นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการ โดยตำแหน่งอยู่แล้ว ซึ่งคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
กลางมีอำนาจกำกับดูแลการจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ และมีอำนาจในการกำหนดนโยบายการจัดสรร
ที่ดินทุกจังหวัด หากเห็นว่าการที่ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตจากเกือบ 20 หน่วยงาน ในปัจจุบัน
ยังไม่เพียงพอที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมก็กำหนดเป็นนโยบายให้ทุกจังหวัดต้องออกข้อกำหนดที่เกี่ยว
ข้องกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมได้

2.คณะกรรมการจัดสรรที่ดินทุกจังหวัด (ตามพระราชบัญญัติจัดสรร 2543) มีอำนาจในการออกใบ
อนุญาตจัดสรรซึ่งมีผู้แทนของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมร่วมเป็นคณะกรรมการด้วยทุก
จังหวัด ดังนั้นจะให้ปฏิบัติหรือห้ามปฏิบัติอย่างไร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมก็ควรให้อยู่ในขั้น
การพิจารณาของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินของจังหวัดได้ไม่เกิดความซ้ำซ้อน และคณะกรรมการ
จัดสรรทุกจังหวัดก็มีทั้งโครงการสร้างและกลไกในการกำกับตรวจสอบได้ด้วย

3.ปรับบทบาทและแนวคิด ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมในการที่จะออกกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมดูแล 
มาเป็นบทบาทในการสนับสนุนส่งเสริม คือ เสนอแนะหน่วยงานท้องถิ่น เช่น อบต. อบจ. เทศบาล 
สุขาภิบาล ซึ่งมีอำนาจอนุญาต และกำกับตรวจสอบอย่างใกล้ชิดในท้องถิ่นให้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมต้องการ หากเห็นว่าข้อบัญญัติท้องถิ่นยังไม่เพียงพอใน
การรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งผมเชื่อว่าหน่วยงานท้องถิ่นก็รักและหวงแหนสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น เช่น
เดียวกัน

ผมเองก็เชื่อว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม จะได้รับฟังความเห็นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยรอบคอบ
ก่อนที่จะประกาศใช้เป็นกฎหมาย

ข้อมูลถาม - ตอบ โดย คุณอิสระ บุญยัง อุปนายกฝ่ายวิชาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น