วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567

กองกำลังพันธมิตรภราดรภาพที่กำลังสู้รบกับรัฐบาลทหารเมียนมาคือใคร

กองกำลังพันธมิตรภราดรภาพที่กำลังสู้รบกับรัฐบาลทหารเมียนมาคือใคร ? Members of the Ta'ang National Liberation Army, part of the Brotherhood Alliance, training at a base in Shan state in western Myanmar ที่มาของภาพ,Getty Images Article information Author,เจเรมี โฮเวลล์ Role,บีบีซีเวิลด์เซอร์วิส 25 กันยายน 2024 เมื่อเร็ว ๆ นี้ แนวร่วมของกลุ่มติดอาวุธได้บุกยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตะวันออกของประเทศเมียนมา ซึ่งถือว่าเป็นปฏิบัติการทางทหารต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่กองทัพเมียนมาเข้ายึดอำนาจเมื่อปี 2021 กลุ่มพันธมิตรภราดรภาพ (Brotherhood Alliance) ประกอบไปด้วย กองกำลังติดอาวุธอันทรงพลังจาก 3 กลุ่มชาติพันธุ์ ขณะนี้กำลังพลของพวกเขากำลังเข้าใกล้เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของเมียนมา กลุ่มพันธมิตรภราดรภาพประกอบด้วยใครบ้าง ? กลุ่มพันธมิตรภราดรภาพ หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่ากลุ่มสามพันธมิตรภราดรภาพ ประกอบด้วยตัวแทนองค์กรติดอาวุธชาติพันธุ์จำนวน 3 กลุ่มจากพื้นที่ชายแดนประเทศเมียนมา ซึ่งล่าสุดลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลทหารในสงครามกลางเมืองที่กำลังเกิดขึ้น ประกอบด้วย กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา หรือ เอ็มเอ็นดีเอเอ (Myanmar National Democratic Alliance Army-MNDAA) กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง หรือ ทีเอ็นแอลเอ (Ta’ang National Liberation Army-TNLA) ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของเมียนมา กองทัพอาระกัน (Arakan Army – AA) จากภาคตะวันตกของเมียนมา ในอดีต พวกเขาเคยต่อสู้กับรัฐบาลเมียนมาเพื่อเรียกร้องเอกราชสำหรับภูมิภาคของตนเอง แต่ในตอนนี้พวกเขาบอกว่าเป้าหมายคือ การโค่นล้มรัฐบาลทหารซึ่งเข้าสู่อำนาจเมื่อปี 2021 หลังจากขับไล่รัฐบาลของนางออง ซาน ซู จี ที่มาจากการเลือกตั้งออกไปได้ . คำบรรยายภาพ,แผนที่ประเทศเมียนมาและรัฐต่าง ๆ ที่สำคัญ สมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่ม MNDAA คือชาวโกก้างผู้อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐฉานในประเทศเมียนมา ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศจีน โดยส่วนใหญ่แล้วชาวโกก้างพูดภาษาจีนกลางและนิยามตัวเองว่าเป็นชาวจีนฮั่น Skip เรื่องแนะนำ and continue reading เรื่องแนะนำ A member of Bamar People's Liberation Army (BPLA) stands guard in territory belonging to the Karen National Liberation Army (KNLA), in Karen State, Myanmar, February 18, 2024. สามีของฉันถูกเกณฑ์ทหาร และตอนนี้ “เขาตายแล้ว” เสียงจากแม่หม้ายชาวเมียนมา ค่ายผาซอง KNU ยืนยันยึดเมียวดีไว้หมดแล้ว ด้านทหารเมียนมาจ่อหนีตายเข้าชายแดนไทย ทหารของ KNU เผาธงชาติเมียนมา ทำไมถึงเร็วเกินไปที่จะบอกว่า "กะเหรี่ยง" กำลังชนะกองทัพเมียนมา ? กลุ่มควันบริเวณค่ายผาซอง ทหารเมียนมาส่งมิก-29 ถล่มฝ่ายต่อต้าน หลังพบขึ้นธงชาติกะเหรี่ยงในเมียวดี End of เรื่องแนะนำ กองกำลัง MNDAA ก่อตั้งขึ้นในปี 1989 หลังแยกตัวออกมาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งพม่า และกลายเป็นกองกำลังแบบกองโจรที่คอยต่อต้านรัฐบาลกลางเมียนมาโดยมีจีนหนุนหลัง ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มจึงมักสู้รบกับกองทัพเมียนมาด้วยความพยายามเรียกร้องการปกครองตนเองให้กับภูมิภาคที่ชาวโกก้างอาศัยอยู่ ทั้งนี้ ทางการสหรัฐอเมริกากล่าวว่า พวกเขาได้มีเงินทุนจากการค้ายาเสพติดที่พวกเขาเรียกมันว่า “กลุ่มกบฏยาเสพติด” ขณะที่ TNLA มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ตะอาง (หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่าปะหล่อง) ซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ในรัฐฉานทางตอนเหนือเช่นกัน พวกเขาต่อสู่กับรัฐบาลกลางเมียนมาตั้งแต่ปี 2009 เพื่อเรียกร้องการแยกตัวออกเป็นอิสระให้กับภูมิภาคของกลุ่มชาติพันธุ์ตะอาง ด้าน AA มาจากชาวอาระกันในรัฐยะไข่ ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศบังกลาเทศ พวกเขาก่อตั้งขึ้นในปี 2009 เพื่อเรียกร้องการแยกตัวเป็นอิสระให้กับภูมิภาคของตนเองเช่นกัน “กลุ่มติดอาวุธเหล่านี้มีโครงสร้างไม่ต่างจากกองทัพปกติ พวกเขามีความเป็นกองกำลังทหารสูงมาก” เยาหลง เซียน จากสถาบันวิจัยสันติภาพแห่งนครแฟรงเฟิร์ต ในเยอรมนี กล่าว กลุ่มพันธมิตรภราดรภาพต่อสู้กับรัฐบาลทหารอย่างไร ? จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2023 เมื่อกองกำลังติดอาวุธของทั้ง 3 กลุ่มร่วมกันโจมตีทั่วรัฐฉานเพื่อต่อต้านกองทัพเมียนมาของรัฐบาลกลางซึ่งรู้จักกันในอีกชื่อว่า “ทัตมาดอว์" (Tatmadaw) ส่งผลให้การโจมตีในครั้งนั้นถูกเรียกว่า “ปฏิบัติการ 1027” การโจมตีดังกล่าวมีกำลังพลร่วม 10,000 นาย จากข้อมูลของสถาบันการศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (IISS) ซึ่งตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร กลุ่มพันธมิตรภราดรภาพยึดครองฐานปฏิบัติการของกองทัพเมียนมาและสามารถยึดเมืองต่าง ๆ ได้หลายแห่ง โดยทาง MNDAA เข้ายึดครองเมืองเล้าก์ก่ายซึ่งเป็นเมืองใหญ่ติดชายแดนจีน และถูกขับเคลื่อนโดยกองทัพเมียนมานับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา . คำบรรยายภาพ,แผนที่แสดงการรุกคืบของกลุ่มพันธมิตรภราดรภาพในช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ในช่วงปลายเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา กลุ่ม MNDAA รุกคืบไปยังเมืองล่าเสี้ยวซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐฉานและสามารถยึดเมืองไว้ได้ นอกจากนี้ พวกเขายังสามารถยึดศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพทัตมาดอว์ในเมืองล่าเสี้ยวได้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของศูนย์บัญชาการหลักต่อกลุ่มกบฏ หากพิจารณาจากหน้าประวัติศาสตร์เมียนมา ในขณะเดียวกัน TNLA ก็รุกคืบจากรัฐฉานไปสู่ตอนกลางของประเทศ และกำลังคุกคามมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของเมียนมาที่มีประชากรอาศัยอยู่ราว 1.5 ล้านคน ทาง TNLA มีกองกำลังอยู่ทางตะวันออกของเมือง และกองหนุนเป็นแนวร่วมจากกองกำลังพิทักษ์ประชาชนแห่งมัณฑะเลย์ (Mandalay People’s Defence Force – Mandalay PDF) ซึ่งตั้งอยู่บนเขาทางตอนเหนือของที่ตั้ง TNLA กองกำลังพิทักษ์ประชาชนแห่งมัณฑะเลย์ร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับกลุ่มพันธมิตรภราดรภาพในสมรภูมิตอนกลางของเมียนมาที่มาของภาพ,Getty Images คำบรรยายภาพ,กองกำลังพิทักษ์ประชาชนแห่งมัณฑะเลย์ร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับกลุ่มพันธมิตรภราดรภาพในสมรภูมิตอนกลางของเมียนมา กลุ่มพันธมิตรภราดรภาพจะโค่นล้มรัฐบาลทหารได้ไหม ? “นี่เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงมากต่อรัฐบาลทหาร” มอร์แกน ไมเคิลส์ จาก IISS กล่าว “มัณฑะเลย์เป็นเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ใจกลางประเทศ” “กลุ่มพันธมิตรภราดรภาพได้เปิดเส้นทางใหม่สำหรับการเอาชนะรัฐบาลทหาร โดยรุกคืบจากรัฐฉานไปยังเมืองมัณฑะเลย์ และต่อไปอาจจะเป็นกรุงเนปิดอว์เลยทีเดียว” ข้อมูลของคอนโทรลริกส์ (Control Risks) ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านธุรกิจสำหรับกิจการต่างประเทศ ระบุว่า ขณะนี้ทัตมาดอว์ควบคุมพื้นที่ประเทศได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเมียนมา อย่างไรก็ตาม สตีฟ วิลฟอร์ด จากคอนโทรลริกส์ บอกว่า “การที่ทัตมาดอว์จะพ่ายแพ้นั้นไม่น่าเป็นไปได้ เนื่องจากพวกเขากำลังทุ่มทรัพยากรอย่างหนักเพื่อปกป้องเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งมีความเป็นไปได้มากว่าการสู้รบจะยืดเยื้อออกไปอีกหลายเดือน” จากข้อมูลขององค์กรเพื่อสันติภาพโลก ระบุว่า การรุกคืบของกลุ่มพันธมิตรภราดรภาพจากปฏิบัติการ 1027 ส่งผลให้พลเรือนมากกว่า 300,000 คน ต้องลี้ภัยการสู้รบที่เกิดขึ้น เมื่อต้นเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา กลุ่ม MNDAA ออกแถลงการณ์ซึ่งดูคล้ายกับว่าถูกกดดันจากจีน โดยเนื้อหาระบุว่า จะไม่โจมตีเมืองมัณฑะเลย์ หรือเมืองตองจีซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉาน นอกจากนี้ยังกล่าวว่า จะตกลงรับข้อเสนอหยุดยิงและยอมให้จีนเป็นตัวกลางในการสร้างสันติภาพระหว่าง MNDAA กับรัฐบาลทหาร อย่างไรก็ตาม แถลงการณ์ดังกล่าวไม่ได้พูดในนามกลุ่มพันธมิตรภราดรภาพ ซึ่งประกอบด้วย AA, TNLA และ Mandalay PDF กองกำลังกลุ่มพันธมิตรภราดรภาพตรวจสอบเอกสารของผู้คนที่หลบหนีการสู้รบระหว่างปฏิบัติการ 1027 ที่มาของภาพ,AFP คำบรรยายภาพ,กองกำลังกลุ่มพันธมิตรภราดรภาพตรวจสอบเอกสารของผู้คนที่หลบหนีการสู้รบระหว่างปฏิบัติการ 1027 กลุ่มพันธมิตรภราดรภาพต้องการอะไร ? ชัยชนะในการต่อต้านรัฐบาลทหารของกลุ่มพันธมิตรภราดรภาพ ได้รับการต้อนรับจากรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ หรือ เอ็นยูจี (National Unity Government - NUG) เป็นอย่างดี พวกเขาคือกลุ่มนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งแต่ถูกขับไล่โดยรัฐบาลทหารเมื่อปี 2021 และขณะนี้ลี้ภัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังถือว่า พวกเขาคือรัฐบาลที่มีความชอบธรรมตามกฎหมายของเมียนมาอยู่ เป้าหมายของ NUG คือ สถาปนารัฐบาลที่มาจากพลเรือนและประชาธิปไตยในเมียนมาให้ได้อีกครั้ง โดยพวกเขามีกองกำลังติดอาวุธที่ชื่อว่า กองกำลังพิทักษ์ประชาชนหรือพีดีเอฟ (People's Defence Forces -PDF) เพื่อต่อกรกับทัตมาดอว์ เซียนบอกว่า กลุ่มพันธมิตรภราดรภาพกล่าวว่า พวกเขามีเป้าหมายร่วมกันกับ NUG ในเรื่องโค่นล้มรัฐบาลทหาร แต่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้มีข้อตกลงกันอย่างเป็นทางการในการต่อสู้กับระบอบการปกครองของกองทัพเมียนมาร่วมกันขนาดนั้น “สิ่งที่ทางกลุ่มพันธมิตรภราดรภาพต้องการคืออำนาจในการปกครองตนเองที่มากกว่าเดิม” เขาบอก “ดังนั้น การรุกคืบมายังตอนกลางของเมียนมาจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อกดดันให้รัฐบาลทหารตัดสินใจและยอมจำนน” “การสนับสนุน NUG ของพวกเขาเป็นแค่ลมปากเท่านั้น เราไม่เห็นการวางแผนทางทหารร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย” จีนมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้อย่างไร ? ธงกลุ่มพันธมิตรภราดรภาพโบกสะบัดใจกลางเมืองล่าเสี้ยวหลังพวกเขาเข้ายึดครองเมืองได้ที่มาของภาพ,Getty Images คำบรรยายภาพ,ธงกลุ่มพันธมิตรภราดรภาพโบกสะบัดใจกลางเมืองล่าเสี้ยวหลังพวกเขาเข้ายึดครองเมืองได้ “เป้าหมายหลักของจีนคือการทำให้ความขัดแย้งของเมียนมาอยู่ห่างจากชายแดนตนเอง” เซียน กล่าว อย่างไรก็ตาม เขายังบอกด้วยว่า คนจีนจำนวนมากเห็นอกเห็นใจกลุ่มติดอาวุธเช่น MNDAA และให้เงินสนับสนุนพวกเขา นอกจากนี้ เขายังบอกด้วยว่าดูเหมือนว่า รัฐบาลจีนจะสนับสนุนปฏิบัติการ 1027 ในช่วงแรก ซึ่งช่วยขับไล่กองกำลังติดอาวุธอีกกองหนึ่งที่มีส่วนพัวพันกับการหลอกลวงชาวจีนผ่านช่องอาชญากรรมออนไลน์ให้ออกจากภูมิภาคโกก้างไปได้ “ในความขัดแย้งของรัฐฉานตอนเหนือก่อนหน้านี้ จีนเข้ามาแทรกแซงเร็วกว่านี้เพื่อเป็นตัวกลางให้เกิดการเจรจาหยุดยิง” เขาบอก “แต่ในตอนนี้ จีนประวิงเวลาการแทรกแซงจนกว่า MNDAA จะสามารถเข้ายึดครองพื้นที่โกก้างได้อย่างสมบูรณ์” อย่างไรก็ตาม การรุกคืบของกลุ่มพันธมิตรภราดรภาพในพื้นที่ตอนกลางของเมียนมาก็ดูเหมือนจะสร้างความประหลาดใจให้กับจีนอยู่ไม่น้อย “มันทำให้จีนสูญเสียการควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่ง” วิลฟอร์ด กล่าว เซียนบอกว่า รัฐบาลจีนพยายามเกลี้ยกล่อมให้ MNDAA ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 4 ก.ย. เพื่อประกาศการหยุดยิง อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มดังกล่าวเคยออกแถลงการณ์ลักษณะเดียวกันนี้มาก่อนเพื่อเอาใจจีน “แน่นอนว่าทั้ง 3 กองกำลังยังคงเดินหน้าสู้รบต่อไป โดยเฉพาะ AA และTNLA เพราะพวกเขายังไม่มีพื้นที่ที่ควบคุมได้มั่นคงเบ็ดเสร็จในตอนนี้” เขากล่าว ข่าวที่เกี่ยวข้อง ทหาร เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมียนมา อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น